มทร. อีสาน เปิดบ้านต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. และ สกสว.ร่วมขับเคลื่อนงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ สาขาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ให้การต้อนรับ คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการเข้าร่วมประชุมและติดตามการดำเนินงานของโครงการวิจัย พร้อมตรวจเยี่ยมพื้นที่ศึกษาวิจัย โครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพคาร์บอนต่ำในเชิงพาณิชย์” และ “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยากรดของแข็งคาร์บอนสำหรับการผลิตสารเติมแต่งเชื้อเพลิง กลีเซอรอล บิวทิล อะเซทัลจากกลีเซอรอลเพื่อลด PM2.5 จากแหล่งกำเนิดเครื่องยนต์ดีเซล” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ อัศวสุขี

…..

ทั้งนี้ วช. สกสว. และ มทร. อีสาน ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นการใช้กลีเซอรอลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลมาเปลี่ยนให้เป็นสารเติมแต่งเชื้อเพลิงเพื่อลด PM2.5 จากรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเก่าที่ยังไม่ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ซึ่งประมาณการว่ามีจำนวนสูงถึง 11 ล้านคันทั่วประเทศไทย โดยสารเติมแต่งที่เตรียมได้เมื่อนำมาผสมกับน้ำมัน B7 แล้วไปทดสอบตาม มอก.3019-2563 พบว่ามีประสิทธิภาพการลดสารมลพิษอนุภาค (Particulate pollutants (mg/km)) ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ และลดปริมาณสารมลพิษอนุภาค (Particulate numbers (#/km)) ประมาณ 9.8 เปอร์เซ็นต์ หากมีการนำสารเติมแต่งนี้ไปเติมในรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเก่าจะช่วยลด PM2.5 จำนวนมากกว่า 2,142 ตันต่อปี โดยหวังช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ ลดปัญหาสุขภาพ พร้อมจับมือเอกชนเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

….

นอกจากนี้ยังทำการติดตามโครงการ “การพัฒนาวัสดุชีวภาพจากกากมันสำปะหลังให้เป็นสารควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยและสารนำส่งยาที่มีประสิทธิภาพ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปกิต กำบุญมา “ต้นกระเจี๊ยบเขียวเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรสู้เส้นใยที่มีมูลค่า” โดย ดร.ฉัตรชัชชญาน์ โชติชญาณ์พงศ์ ณ อาคาร 34 คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์